ประกันสังคม “ประกันสังคม” ที่หลายๆ ท่านก็คงจะเกิดคำถามกันอยู่ในใจว่าที่เราจ่ายเงินอยู่ทุกๆ เดือนนี้ เราจะได้รับประโยชน์อะไรจากการเสียเงินไปบ้าง คุ้มค่ามั้ย วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไป “ทำทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ประกันสังคม” กันดีกว่าครับ เพื่อประโยชน์ของเราเอง ไปเรียนรู้พร้อมๆ กันเล้ยย!!!

ประกันสังคมเป็นอย่างไร?

ประกันสังคม คือ การทำประกันกับรัฐบาล ด้วยการจ่ายเบี้ยประกันซึ่งในที่นี้เรียกว่าเงินสมทบ ให้กับกองทุนประกันสังคมเป็นรายเดือนโดยหักจากเงินเดือนเป็นจำนวน 5% เพื่อรับความคุ้มครองเมื่อว่างงาน, ประสบอันตราย/เจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, สงเคราะห์บุตร หรือชราภาพ โดยเงินสมทบที่ว่านี้มาจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ ลูกจ้าง 5% นายจ้าง 5% รัฐบาล 2.75% โดยในส่วนของลูกจ้างและนายจ้างทางสถานประกอบการสามารถใช้บริการชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ เพื่อไม่ให้พลาดทุกการชำระเงินในแต่ละเดือน โดยประกันสังคมจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ

ประกันสังคม ม.33 คือ ลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม แต่ละเดือน ในอัตรา 5% นายจ้างจะเป็นผู้ดำเนินการสมัครประกันสังคมออนไลน์ให้กับพนักงานและลูกจ้างเอง นายจ้างจะดำเนินการหัก 5% ของค่าจ้างเราอัตโนมัติ ผู้ประกันมาตรา 33 สิ้นสุดลง คือ ผู้ประกันตนตาย และ ลาออกจากงาน

ประกันสังคม ม.39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่อาจเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน แล้วลาออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมให้ต่อเนื่อง หรือผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก โดยมีเงื่อนไขคือต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน

ประกันสังคม ม.40 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่อาจเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน แล้วลาออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมให้ต่อเนื่อง หรือผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก โดยมีเงื่อนไขคือต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน

3 สิ่งที่เราสามารถเบิกกับประกันสังคมได้?

เจ็บป่วยปกติ

สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามสิทธิหรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้นได้ฟรี โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ทั้งผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD)

ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน กรณีเข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลรัฐ:

          ผู้ป่วยนอก (OPD) เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง

          ผู้ป่วยใน (IPD) เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

เบิกเงินทำทันตกรรม

  • ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด รับค่าบริการทางการแพทย์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 900 บาท/ปี
  • ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมตามที่จ่ายจริง โดย 1-5 ซี่ จะได้รับเงินไม่เกิน 1,300 บาท และมากกว่า 5 ซี่ ขึ้นไป จะได้รับเงินไม่เกิน 1,500 บาท
  • ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก กรณีฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2,400 บาท และกรณีฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ จึงจะได้รับสิทธิ

กรณีว่างงานและขาดรายได้

          กรณีถูกเลิกจ้าง รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 70% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 200 วัน

          กรณีลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 45% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน (บังคับใช้ 1 มี.ค. 63 – 28 ก.พ. 65)

          กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนว่างงาน จึงจะได้รับสิทธิ

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ประกันสังคมที่พวกเราได้รวบรวมข้อมูลมากฝากท่านผู้อ่านกันในบทความข้างต้นนี้กันครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ที่ดีกันนะครับ