พ.ร.บ.ว่ากันด้วยเรื่องของการ คุ้มครองค่ารักษา ต่างๆ นั้น จากการจะมีที่เราทำประกันและระบุไว้ในสัญญาสินเชื่อแล้ว หากเราไม่ได้ทำประกันก็มีสิ่งที่คุ้มครองเป็นเหมือนกับ สวัสดิการแห่งรัฐ ที่ได้จากรัฐบาลซึ่งได้แก่ ...” นั้นเองครับ วันนี้เราเลยอยากจะพาทุกๆ ท่านไปศึกษาเกี่ยวกับ กฎหมายเกี่ยวกับ การคุ้มครองค่ารักษา ที่น่าสนใจกันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้นเราไปชมกันเล้ยย!!!

อุบัติเหตุจากรถ พ.ร.บ.คุ้มครองอย่างไร

กฎหมายบังคับให้รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ทุกคันทุกประเภท จะต้องทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ “เรามักเรียกว่า พ.ร.บ.” ซึ่งคุ้มครองทุกคนที่ประสบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึงคนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต บาดเจ็บ ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้เป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าปลงศพแล้วแต่กรณี แต่ไม่รวมค่าเสียหายของทรัพย์สิน

ความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับ ค่าเสียหายเบื้องต้น ไม่ต้องรอผลพิสูจน์ว่าฝ่ายใดชน หรือฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูก-ผิด

  • กรณีบาดเจ็บ จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิตหลังจากรักษาพยาบาล จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพอีกจำนวน 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
  • ค่าสินไหมทดแทน คือเงินชดเชยที่ฝ่ายถูกจะได้รับ หลังการพิสูจน์ถูกผิดแล้ว
  • ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ชดเชย 200,000 – 500,000 บาท (กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ)
  • กรณีเสียชีวิต ชดเชย 500,000 บาท
  • ค่าชดเชยกรณีเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน

การขอรับค่าเสียหาย ผู้ประสบภัยจากรถหรือทายาท ยื่นเรื่องขอรับค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้โรงพยาบาลเป็นผู้รับแทนก็ได้

 

ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นจ่ายตามจริงไม่เกิน 30,000 บาท มี สิทธิ์รับได้ภายใน 7 วัน นับจากวันร้องขอจากบริษัทประกันภัยโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด ระยะเวลาในการขอใช้สิทธิ์ พ.ร.บ.ภายใน 180 วันหลังจากวันที่เกิดเหตุ

หลักฐานที่ต้องเตรียม

          สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัยและเจ้าของรถ

          สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบภัย

          สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ

          สำเนาหนังสือจดทะเบียนรถ

          ตารางกรมธรรม์ประกันภัย

          ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาล

กรณีอุบัติเหตุจากรถดังต่อไปนี้

          ชนแล้วหนี

          รถที่ไม่มีประกันภัย และเจ้าของรถไม่ยอมจ่าย

          รถที่ถูกลักทรัพย์ ชิงทรัพย์

          ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถและรถไม่มีประกันภัย

          บริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหายหรือจ่ายไม่ครบจำนวน

กรณีดังกล่าวข้างต้น ผู้ประสบภัยขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น 30,000 บาท/คน ได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานพาณิชย์ทุกจังหวัด

แล้วประกันทั่วๆ ไปคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

การประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การประกันชีวิต (Life Insurance) (click ชื่อแล้วให้ link ไปยังหัวข้อ ประกันชีวิต)และการประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) ซึ่งสามารถยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้

  • การประกันภัยบุคคล (Insurance of the person) เป็นการประกันภัยเกี่ยวกับภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือที่เกิดกับบุคคล ได้แก่ การประกันชีวิต, การประกันอุบัติเหตุ, การประกันสุขภาพ
  • การประกันภัยทรัพย์สิน (Property Insurance) เป็นการประกันที่บริษัทผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกัน ได้แก่เป็นการประกันที่บริษัทผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกัน ได้แก่ การประกันอัคคีภัย, การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง, การประกันภัยรถยนต์, การประกันภัยเบ็ดเตล็ด

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ กฎหมายเกี่ยวกับ การคุ้มครองค่ารักษาที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้กันครับ คิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านกันนะครับ