เงินชดเชยเลิกจ้างว่ากันด้วยเรื่องของการเงินชดเชยหรือการเลิกจ้างนั้น เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกันพอสมควรเพื่อเป็นประโยชน์ส่วนตนของพวกเรากันนะครับ ซึ่งด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้หลายๆ บริษัทขาดรายได้พอสมควรจึงต้องมีการปรับองค์กรและเกิดการ เลิกจ้าง ขึ้นครับ วันนี้เราเลยอยากจะมาแชร์เกี่ยวกับ หากโดนเลือกจ้างงานจะต้องรู้อะไรบ้างให้กับทุกๆ ท่านได้ทราบกันเอาไว้ครับ

เงินชดเชยเลิกจ้างเป็นอย่างไร?

เงินชดเลยเลิกจ้าง คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามกรณีต่างๆ นั้นเอง

เงินชดเชยเลิกจ้างแบ่งสัดส่วนเป็นอย่างไรและประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

กรณีที่พนักงาน “ถูกให้ออกจากงาน ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย” จะได้เงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ และตามกฎหมายลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย ตาม พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 118 และมาตรา 17/1 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป
  • หากลูกจ้างทำงานมายังไม่ถึง 120 วัน นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้
  • หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 120 วัน – 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน ในอัตราสุดท้าย
  • หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 1 – 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน ในอัตราสุดท้าย
  • หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 3 – 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน ในอัตราสุดท้าย
  • หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 6 – 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 240 วัน ในอัตราสุดท้าย
  • หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 10 – 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน ในอัตราสุดท้าย
  • หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 400 วัน ในอัตราสุดท้าย
  1. ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า

ค่าเสียหายนี้เกิดในกรณีหากนายจ้าง “ไล่ออก” ทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า ถือว่า นายจ้างทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน นอกจากจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไป ตามข้อ 1 แล้ว (มาตรา 118) ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้าด้วย ตามมาตรา 17/1 เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างในอัตราที่ลูกจ้างได้รับอยู่อัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนเสมือนหนึ่งว่านายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้เตรียมตัวก่อนออกจากงาน แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้จะคิดอย่างมากที่สุด ไม่เกินค่าจ้างสามเดือน

แล้วประกันสังคมเป็นอย่างไร?

ประกันสังคม คือ การทำประกันกับรัฐบาล ด้วยการจ่ายเบี้ยประกันซึ่งในที่นี้เรียกว่าเงินสมทบ ให้กับกองทุนประกันสังคมเป็นรายเดือนโดยหักจากเงินเดือนเป็นจำนวน 5% เพื่อรับความคุ้มครองเมื่อว่างงาน, ประสบอันตราย/เจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, สงเคราะห์บุตร หรือชราภาพ โดยเงินสมทบที่ว่านี้มาจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ ลูกจ้าง 5% นายจ้าง 5% รัฐบาล 2.75% โดยในส่วนของลูกจ้างและนายจ้างทางสถานประกอบการสามารถใช้บริการชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ เพื่อไม่ให้พลาดทุกการชำระเงินในแต่ละเดือน

ความคุ้มครองที่ได้รับจากประกันสังคมที่รวมถึงช่วงเราว่างงานมีอะไรบ้าง?

  • กรณีว่างงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน
    กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนไปรักษา
    รักษาฟรีที่สถานพยาบาลที่เลือกไว้
    ถ้าหมอให้หยุดพักเพื่อรักษาตัว ได้เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน (เฉพาะโรคเรื้อรังปีละไม่เกิน 365 วัน)
    รักษาฟันฟรี ปีละ 900 บาท
    กรณีคลอดลูก เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันคลอด
    กรณีทุพพลภาพ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเกิดเหตุ
    กรณีทุพพลภาพ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเกิดเหตุ
    กรณีสงเคราะห์บุตร เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับเงินทดแทน
    กรณีชราภาพ จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนที่จ่ายมา

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ หากโดนเลือกจ้างงานจะต้องรู้อะไรบ้างที่เราได้นำมาฝากและทำความเข้าใขเกี่ยวกับ ประกันสังคมเพิ่มเติมด้วยครับ หวังว่าจะชอบกันนะครับ