เงินชดเชยลูกจ้างด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่กำลังเข้าสู่ช่วงขาลงและมีรายจ่ายภาคประชาชนหรือค่าครองชีพสูงขึ้น ส่วนทางกับรายได้ที่ทุกคนพึงมี จึงทำให้หลายๆ บริษัทและพนักงานได้รับผลกระทบ ต้องมีการตัดยอดที่ไม่จำเป็นหรือส่วนงานที่คาดทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กรต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เกิดการ “เลิกจ้างงาน” เป็นจำนวนมาก “เงินชดเชย” จึงเป็นสิ่งที่พนักงานที่ถูกเลิกงานจ้างพึงได้รับ บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปทำความเข้าใจกับ “เงินชดเชยที่ลูกจ้างควรได้รับ” กันครับ

ความหมายของ เงินชดเชย เป็นอย่างไร?

เงินชดเชย คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างหรือเกิดกรณีที่เกิดความเสียหายต่อลูกจ้างต่างๆ  นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามกรณีต่างๆ นั้นเอง

เงินชดเชยเลิกจ้างแบ่งสัดส่วนเป็นอย่างไรและประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

กรณีที่พนักงาน “ถูกให้ออกจากงาน ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย” จะได้เงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ และตามกฎหมายลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย ตาม พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 118 และมาตรา 17/1 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป
  • หากลูกจ้างทำงานมายังไม่ถึง 120 วัน นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้
    • หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 120 วัน – 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน ในอัตราสุดท้าย
    • หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 1 – 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน ในอัตราสุดท้าย
    • หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 3 – 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน ในอัตราสุดท้าย
    • หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 6 – 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 240 วัน ในอัตราสุดท้าย
    • หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 10 – 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน ในอัตราสุดท้าย
    • หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 400 วัน ในอัตราสุดท้าย
  1. ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า
  • ค่าเสียหายนี้เกิดในกรณีหากนายจ้าง “ไล่ออก” ทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า ถือว่า นายจ้างทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน นอกจากจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไป ตามข้อ 1 แล้ว (มาตรา 118) ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้าด้วย ตามมาตรา 17/1 เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างในอัตราที่ลูกจ้างได้รับอยู่อัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนเสมือนหนึ่งว่านายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้เตรียมตัวก่อนออกจากงาน แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้จะคิดอย่างมากที่สุด ไม่เกินค่าจ้างสามเดือน

การเกษียณอายุตามกฏหมายจะได้สินไหมทดแทนหรือไม่และจ่ายอย่างไร?

การเกษียณอายุถือเป็นหนึ่งในการเลิกจ้างอย่างหนึ่ง” ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118/1 บัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุการทำงานและการจ่ายค่าชดเชย ดังนี้

          การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง

          ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุเอาไว้ หรือมีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี ให้ลูกจ้าที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้นตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง ซึ่งกรณีที่นายจ้างกำหนดการเกษียณอายุ “ก่อนครบ 60 ปีบริบูรณ์” ให้ถือว่าการเกษียณอายุไปเป็นตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

          กรณีกำหนดการเกษียณอายุ “เกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์ หรือไม่ได้มีการกำหนด” ลูกจ้างมีสิทธิขอเกษียณอายุได้เมื่อมีอายุครบ 60 ปีขึ้นไป และให้มีผลเมื่อครบ 30 วันหลังการแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง ด้วย

ในเรื่องค่าชดเชยที่ลูกจ้างจะได้รับ หลังจากที่แสดงเจตนาเกษียณแล้ว ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.118 วรรคแรก ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยดังนี้
1. ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปีได้ค่าชดเชย 30 วัน หรือ 1 เดือน
2. ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน หรือ 3 เดือน
3. ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปีจะได้รับเงินชดเชย 180 วัน 6 เดือน
4. ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน หรือ 8 เดือน
5. ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้เงินชดเชย 300 วัน หรือ 10 เดือน
6. ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 400 วัน หรือ 13.33 เดือน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ เงินชดเชยที่ลูกจ้างควรได้รับพร้อมกับข้อมูลเกี่ยวกับการเกษียณอายุงานที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันครับ คิดว่าน่าจะเป็นข้อมูลที่ดีและมีประโยยชน์กันนะครับ