เด็กก็เปรียบสเมือนผ้าขาวที่จะคอยซึ่มซับทุกสิ่งที่ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตพวกเค้าและหล่อหลอมเค้าจนเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่อย่างเราๆ ดังนั้น การที่พวกเค้าเติบโตมาได้ไม่ดีพอ ก็อาจจะเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยและการสั่งสอนที่ไม่มากพอ บทความนี้จะขอมาแนะนำทุกๆ ท่านที่กำลังมีเด็กเล็กให้พบกับ เลี้ยงเด็กๆ อย่างไร ให้เติบไปโดยไม่ก้าวร้าวกันครับ จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปดูกันดีกว่าครับ

ปัจจัยที่มีผลต่อบุคลิกและการเติบโตของเด็ก

  • ประสบการณ์ในวัยเด็ก

    เรียกได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่เด็กๆ ได้รับการเลี้ยงดูในระยะแรกของชีวิต คือตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ขวบ ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะได้แก่

เด็กที่เลี้ยงดูแบบตามใจ ซึ่งการเลี้ยงดูแบบนี้จะทำให้เด็กๆ อาจเสียคนได้ พวกเขาจะไม่สามารถพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคม ขาดเหตุผล เห็นแก่ตัว นั่นเอง

เด็กที่ถูกทอดทิ้ง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น พ่อแม่แยกทาง พ่อแม่เสียชีวิต ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น เด็กที่ถูกทอดทิ้งเหล่านี้จะรู้สึกเกลียดชังพ่อแม่และคนรอบข้าง ทำให้เขาเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย และปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก นั่นเอง

เด็กที่ได้รับความรักความอบอุ่น เด็กเหล่านี้มักได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีเหตุและผล ทำให้เด็กๆ ที่ได้รับประสบการณ์ที่ดี เด็กจึงเป็นคนที่มีเหตุผล กล้าคิด กล้าแสดงออก มองโลกในแง่ดี ร่าเริงแจ่มใส และเอาใจใส่ผู้อื่นนั่นเองค่ะ

  • ความรู้สึกว่ามีปมด้อย การมีปมด้อยมักเกิดจากการเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตา สภาพร่างกาย ความสามารถ สถานทางสังคม ฐานะความเป็นอยู่ การยอมรับ ซึ่งเมื่อเด็กคิดว่าตัวเองมีปมด้อยแล้ว เขามักจะสร้างปมเด่น เพื่อกลบปมด้อยของตัวเองขึ้นมา เพื่อสร้างความมั่นใจและเป็นที่ยอมรับในสังคมให้ได้ เหตุนี้นี่ก็เป็นอีก 1 ปัจจัยที่ทำให้เด็กๆ แต่ละคนมีลักษณะนิสัยหรือบุคลิกที่ต่างกันนั่นเอง เพราะปมด้อยของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน

วิธีกำหราบเด็กดื้อ เด็กซน

  • หลีกเลี่ยง” การแยกเด็กให้อยู่ในห้องคนเดียวเป็นเวลานานๆ ไม่ควรสั่งแยกเด็กอยู่คนเดียวนานๆ เพราะเด็กอาจรู้สึกไม่ปลอดภัย รู้สึกโดดเดี่ยว และเครียด จนอาจคิดทำร้ายตนเองและเกิดเป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีเมื่อเติบโตขึ้น
  • จงอย่าเอาใจในขณะที่เด็กก้าวร้าว เช่น ตอบตกลง หรือต่อรองกับสิ่งที่เด็กต้องการ ซึ่งผู้ปกครองไม่ควรตอบตกลง หรือต่อรองกันในขณะที่เด็กมีอารมณ์ หรือพฤติกรรมก้าวร้าว เพราะต้องการหลอกล่อให้เด็กหยุด จะทำให้เด็กเคยตัวกับการที่แสดงพฤติกรรมแบบนี้ แล้วผู้ปกครองจะตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ แต่ควรตอบสนองเด็ก เฉพาะช่วงที่อารมณ์สงบลง และมีพฤติกรรมที่เหมาะสมเท่านั้น
  • พยายามฝึกให้เด็กรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่ทำลงไป เช่น เก็บสิ่งของที่ขว้างปา ฝึกให้เด็กรับผิดชอบต่อการกระทำที่ไม่เหมาะสมของตนเอง เช่น เก็บของเล่นที่ขว้างปาจนกระจัดกระจาย โดยพิจารณาตามความเหมาะสม ไม่ใช่สิ่งที่เด็กทำเองไม่ได้ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่า หากทำแบบนี้ ผลที่ตามมาคืออะไร
  • คอยชื่นชมเมื่อเด็กควบคุมอารมณ์ตนเองได้ การแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม หากเด็กมีความตั้งใจ พยายามจัดการอารมณ์ของตนเอง แม้จะยังจัดการอารมณ์ หรือพฤติกรรมของตนเองได้ไม่ดีนัก ควรมีการชื่นชม ให้กำลังใจที่เด็กมีความพยายามที่จะจัดการอารมณ์ตนเอง

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ การเลี้ยงเด็กๆ ให้เติบโตไปอย่างไม่ก้าวร้าว ที่เราได้หามากฝากทุกๆ ท่านกันในข้างต้นนี้ครับ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่าน ไม่มากก็น้อยกันนะครับ สุดท้ายนี้ พ่อแม่คือคนที่จะอยู่เคียงข้างเด็กๆ ตั้งแต่เด็กๆ จนพวกเค้าเติบโตครับ